ไฮไลต์
• EVolt Technology เป็นหนึ่งในเทคสตาร์ทอัพที่เป็นผู้นำแพลตฟอร์ม นำหลักการ Engineering & Technology Management มาใช้กับการทำงานอย่างจริงจัง
• ที่ผ่านมาเราจับมือพาร์ทเนอร์เพื่อทำโปรเจกต์สำคัญมากมาย อาทิ
• เมื่อเร็วๆ นี้ อีโวลท์ เทคโนโลยี จับมือ บ้านปู เน็กซ์ ปิดดีลลงทุนขยายแพลตฟอร์มสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าปี’68 เพิ่มบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า 5,000 จุด เติมเต็มระบบ Mobility As a Service (MaaS) ครบวงจร
• เราเป็นพาร์ทเนอร์กับ MG เข้าไปวางระบบในการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Fast Charge ตั้งเป้า 500 จุดทั่วประเทศภายในปี 2565
• เราทำ Turnkey Solution ให้กับ EleX by EGAT ดูแลตั้งแต่ออกแบบสถานีจนถึงติดตั้งระบบสถานีอัดประจุไฟฟ้า
• เราเป็นผู้นำบริการระบบประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจรที่สุดในประเทศไทย วันนี้เราพร้อมจะก้าวสู่ผู้ให้บริการ E-Mobility โซลูชันขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกของเมืองไทย
มุมมองยานยนต์ไฟฟ้า
• ผมมองว่ายานยนต์ไฟฟ้า (EV) ไม่ใช่เทรนด์ของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นโกลบอลเทรนด์ เพราะเข้ามาตอบโจทย์เทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ช่วยลดโลกร้อน รวมถึงเรื่องของคาร์บอนเทรนด์ต่างๆ ตรงนี้ทุกองค์กรในโลกต่างให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น และคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ทุกๆ ประเทศหันมาส่งเสริมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางจีน สหรัฐฯ
• ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์มีการปรับตัวเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้าเร็วขึ้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมเป็นช่วงขาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์เกี่ยวกับ ESG Framework จึงทำให้องค์กรชั้นนำเหล่านี้หันมาสนใจทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
• หันมองไทย ผมคิดว่าบ้านเรายังพึ่งพาพลังงานที่นำเข้าจากต่างประเทศค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะน้ำมันดิบ หากเราหันมาชิปไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น จะทำให้คนไทยเข้าถึงพลังงานสะอาดได้มากยิ่งขึ้น ประเทศลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ช่วยสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ไทยได้มหาศาล
ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของไทย
• เมื่อเร็วๆ นี้ ค่ายรถยนต์ชั้นนำได้ประกาศลงนามข้อตกลงความร่วมมือยุติการผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันทุกชนิดภายในปี ค.ศ. 2040
• ปัจจัยที่เร่งเร้าให้กระแสยานยนต์ไฟฟ้าได้รับความสนใจมากขึ้นในไทย มาจากปัจจัยค่ายรถชั้นนำ เช่น เอ็มจี, เกรท วอลล์ มอเตอร์, บีเอ็มดับเบิลยู, วอลโว่ ฯลฯ โหมเปิดตัวรถ EV ในไตรมาสที่ 1-3 และไตรมาส ที่ 4 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 (The 38th Thailand International Motor Expo 2021) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีความผันผวนหลังคลายล็อกดาวน์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยเพราะประเทศไทยไม่ได้มีทรัพยากรที่จะผลิตพลังงานได้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นพลังงานที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
สถานีอัดประจุไฟฟ้าของไทย
• ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเป็น (Service Provider) ประมาณ 10 ราย ผมมองว่าไม่เยอะและก็ไม่น้อยไป ทั่วประเทศมีจำนวนจุดให้บริการประมาณ 533 แห่ง มี 817 จุดชาร์ต ในจำนวนนี้เป็นหัวจ่ายประเภท AC 92% และ DC 8% (ที่มา : สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย, 2563)
• Evolt Technology มีจำนวนสถานีชาร์จ 300 แห่งแบบใช้สาย ในจำนวนนี้มีทั้งที่เราลงทุน และพาร์ทเนอร์เราร่วมลงทุน แต่เราดูแลทั้งระบบให้ครบวงจร ซึ่งประกอบไปด้วยหัวจ่ายประเภท AC และ DC ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ภูเก็ต สงขลา นราธิวาส เชียงใหม่ ขอนแก่น กาญจนบุรี ฯลฯ
เทรนด์สถานีอัดประจุไฟฟ้า
• ผมมองว่าเทรนด์ของอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ นอกจากต้องเพิ่มจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบใช้สายให้รองรับกับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ซึ่งควรมีทั้งรูปแบบการอัดประจุแบบช้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Slow Charge) การอัดประจุแบบปกติไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Normal Charge) และการอัดประจุแบบเร็ว (Fast Charge) จะต้องมีทางเลือกให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น
• สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ มีรูปแบบการสับเปลี่ยนกับแบตเตอรี่ทีมีค่าเสถียรของประจุที่ต่ำกว่า จะเริ่มเข้ามารองรับยานยนต์ประเภทรถมอเตอร์ไซค์มากขึ้น
• สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สาย เป็นอีกเทรนด์น่าจับตาจะเข้ามาเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการอัดประจุแบบไร้สายในขณะยานยนต์จอดอยู่กับที่หรือจะเป็นการอัดประจุแบบไร้สายในขณะที่ยานยนต์กำลังขับเคลื่อนที่ได้
นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ
• ภาครัฐให้ความสนใจในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นตัว Infrastructure มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมด้านภาษี รวมถึงบีโอไอ (BOI) ได้ออกนโยบายเพื่อที่จะจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน นอกจากนี้ในส่วนของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเข้ามาเป็นโอเปอเรเตอร์ เข้ามาเป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จกันมากขึ้น เช่น EGAT, MEA, PEA, PTTOR ก็ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดเองเช่นกัน
• ในส่วนของการใช้งานกระทรวงการคลังเองได้หนุนนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนรถในหน่วยงานราชการมาเป็นรถไฟฟ้ามากขึ้น พวกนี้นับเป็นส่วนประกอบทั้งหมดเลย ที่ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้ามันเกิดขึ้นได้เร็วในประเทศไทย
• รัฐบาลมีเป้าส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้เร็วยิ่งขึ้น จากเดิมมีแผนผลักดันให้มียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2578 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ครบวงจร และนำมาตรการลดภาษีนำเข้าจากทุกประเทศเป็น 0% มีแผนส่งเสริมให้เอกชนเพิ่มสถานีควิกชาร์จกระแสตรง (DC) 12,000 หัวจ่ายภายในปี 2578 ครอบคลุมทั่วประเทศ
• EVolt Technology เราพร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ตั้งเป้าเพิ่มสถานีอัดประจุไฟฟ้า 5,000 จุด เติมเต็มระบบ Mobility As a Service (MaaS) ครบวงจร และจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอันดับ 1 ภายในปี 2568
พูนพัฒน์ โลหารชุน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด
ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19
• “โควิด-19” ถามว่ามีผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง จริงๆ แล้วก็กระทบในธุรกิจแทบจะทุกเซกเตอร์ แต่ถือเป็นโชคดีที่ธุรกิจ EV เป็นโกลบอลเทรนด์ เป็นธุรกิจขาขึ้น มีอัตราเติบโตในทิศทางที่ดี แต่อาจมีการชะลอในบางโปรเจกต์บ้าง โดยภาพรวมแล้วการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไม่ได้ชะลอตัวมาก ทุกองค์กรก็ยังให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนเดิม ดังนั้นเทรนด์ EV ยังมาแรงและอยู่ในความสนใจของตลาดยานยนต์
อีโวลท์พร้อมเป็นผู้นำ E-Mobility ในไทยและภูมิภาคอาเซียน
• เราเป็นกรีนเทคคัมปานี (Green Tech Company) ที่ Provide Total Solution หรือโซลูชันครบวงจรในเรื่องของ EV Charging ให้กับลูกค้า เราเองมีความแข็งแกร่งในเรื่องของวิศวกรรม (Engineering) การพัฒนาแพลตฟอร์ม และในเรื่องของโอเปอเรชั่น (Operation) อีกส่วนที่เราให้ความสำคัญก็คือ คู่ค้าพันธมิตร (Partnership) ที่จะช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า หรือ E-Mobility Ecosystem ให้สมบูรณ์แบบให้กับผู้ใช้บริการ
• เรามองว่า ธุรกิจ EV ไม่สามารถเติบโตด้วยตัวเองได้ ถ้าเราไม่มีพันธมิตรทางการค้า (Partnership) ไม่ว่าจะเป็นค่ายรถเองก็ตาม กลุ่มพลังงาน หรือกลุ่มเรียลเอสเตส ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่เราเป็นพันธมิตรด้วย ทำให้ทุกๆ กลุ่มสามารถก้าวเข้าสู่ยุคของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า E-Mobility อย่างเต็มตัว
• เพราะเรามองไปถึงการเข้าเป็นส่วนหนี่งในชีวิตประจำวันของคนไทย ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ด้วยบริการ At Work, At Play, At Home
แผนขยายธุรกิจของอีโวลท์
• ปีหน้าเรามีแผนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอีก 300 จุด และจะเพิ่มเป็น 5,000 จุดภายในปี 2568
• เรามีแผนที่จะพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม ที่จะมาตอบโจทย์ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหันมาปรับเปลี่ยนใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นหรือเรียกว่า Electrify Thailand
• เราจะนำโซลูชัน เข้าไปเสริมทัพให้บ้านปู เน็กซ์ ผู้นำบริการโซลูชันพลังงานฉลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อขยายโซลูชันธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า New S-Curve ให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น
• เราพร้อมสนับสนุน Partner ของเราทุกๆ ด้านเพื่อให้ Partner เติบโตไปพร้อมกับเรา
“ผมมองว่า เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง EV คือ EV Charging มันทรงพลังมาก มันจะทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมไร้มลพิษและฝุ่นควันอย่างยั่งยืนครับ” (พูนพัฒน์ โลหารชุน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด)